“หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบผิดวิธี
- Suwarak Sangphet
- Dec 18, 2024
- 1 min read
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือที่เรียกว่า “การกดทับเส้นประสาทจากหมอนรองกระดูก” (herniated disc หรือ slipped disc) เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกในแนวกระดูกสันหลัง (spinal disc) เลื่อนออกจากตำแหน่งหรือมีการฉีกขาด ส่งผลให้กดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้มีอาการดังนี้เกิดร่วมขึ้นด้วย
ปวดหลัง อาการนี้จะชัดเจน เมื่อมีอาการปวดหลังไม่หายบริเวณที่หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท
ปวดขา อาการปวดอาจกระจายไปยังขาหรือก้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่ทับเส้นประสาท
ชาหรือรู้สึกเจ็บปวด รู้สึกชาหรือเจ็บปวดในส่วนที่เส้นประสาทได้รับผลกระทบ
อ่อนแรง อาจมีความอ่อนแรงในขาหรือแขน เนื่องจากหมอนรองกระดูกไปทับเส้นประสาท

ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (herniated disc) เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพในอนาคตได้ ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ภาวะนี้สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลัก คือ พฤติกรรมในชีวิตประจำวันและความเสื่อมสภาพตามวัย
พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้เกิดความเสี่ยง “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”
ท่านั่งทำงานที่ไม่ถูกต้อง นั่งทำงานในท่าทางที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน เช่น การนั่งที่โต๊ะทำงานที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปไม่เหมาะกับสรีระ, การนั่งในท่าที่เอียงตัวไปข้างใดข้างหนึ่งนานๆ, นั่งไขว่ห้าง หรือการนั่งนานโดยไม่มีการพักผ่อนลุกขึ้นไปเดิน ทำให้เกิดแรงกดทับที่กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกได้
ยกของหนักผิดท่าหรืออุบัติเหตุ การยกหรือเคลื่อนย้ายของหนักโดยใช้ท่าที่ไม่ถูกต้อง เช่น ก้มยกของจากพื้น โดยไม่ใช้ขาเป็นหลัก หรือเกิดอุบัติเหตุชนหรือกระแทกแรงๆ อาจทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือเกิดการฉีกขาดได้ง่ายขึ้น
ออกกำลังกายแบบหักโหม การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูงและผิดท่า ไม่มีอุปกรณ์เซฟกระดูกสันหลัง เช่น การยกน้ำหนักหนัก, การเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว หรือการออกกำลังกายที่มีความเสี่ยงสูง โดยไม่ทำการวอร์มอัพหรือฝึกท่าทางที่ถูกต้อง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ที่นอนหรือหมอนที่ไม่เหมาะกับสรีระ ชุดเครื่องนอนที่ไม่รองรับคอและกระดูกสันหลัง หมอนไม่รองรับกับสรีระ ฟูกที่นอนยุบตัวเป็นแอ่ง หมอนเสื่อมสภาพทำให้นอนหมอนต่ำเกินไปหรือการนอนหมอนสูงเกินไป อาจทำให้เกิดอาการเกร็งที่ต้นคอและแรงกดทับที่กระดูกสันหลัง
นอนผิดท่า การแอ่นของกระดูกสันหลัง เช่น ท่านอนคว่ำเล่นโทรศัพท์ หรือผู้ที่ติดนอนคว่ำ ทำให้กระดูกสันหลังมีการแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงกดทับที่ไม่สมดุลที่กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังหรือคอ
ความเสื่อมสภาพตามวัย มีโอกาสที่จะเป็น “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”
การเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูก หมอนรองกระดูกจะสูญเสียความยืดหยุ่นและความสามารถในการรองรับแรงกระแทกตามอายุ การเสื่อมสภาพนี้ทำให้หมอนรองกระดูกมีแนวโน้มเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งหรือเกิดการฉีกขาดได้ง่ายขึ้น
การเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของกระดูกสันหลังตามอายุ เช่น การเสื่อมสภาพของกระดูก หรือการกดทับของกระดูก อาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
การเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อและเอ็น กล้ามเนื้อที่อ่อนแอลงตามอายุและเอ็นที่สูญเสียความยืดหยุ่นอาจลดความสามารถในการรองรับและป้องกันการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วฉับพลัน
หากเราเริ่มหันมาใส่ใจในพฤติกรรมในชีวิตประจำวันและการดูแลสุขภาพตามวัยสามารถช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ หากใช้ท่าทางที่เหมาะสมในการนั่งทำงานที่ถูกต้อง, การยกของหนัก และการออกกำลังกายแบบถูกวิธี เพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดทับที่ไม่จำเป็น รวมถึงเลือกหมอนยางพาราเพื่อสุขภาพ ใช้หมอนให้เหมาะสมกับสรีระร่างกายของผู้นอน Leanova เราออกแบบหมอนเพื่อสุขภาพมาเพื่อรองรับและบรรเทาการปวดเมื่อย ไม่ยุบตัว ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การนอนอย่างเหมาะสมช่วยให้ชีวิตประจำวันเป็นไปได้อย่างมีคุณภาพและลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยในอนาคต
Comments