รู้ไว้ก่อนแก้ 'ท่านั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์' เสี่ยงเป็นโรคกระดูกสันหลังปลิ้น
- Suwarak Sangphet
- Mar 26
- 1 min read
ท่านั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกต้องหรือท่านั่งที่ไม่ถูก อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อ โดยอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกสันหลังปลิ้น (Herniated Disc) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า กระดูกสันหลังเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นภาวะที่หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนหรือบีบกระดูกสันหลังจนทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดขา หรือปัญหาการเคลื่อนไหวได้ หากผู้ที่นั่งทำงานท่าที่ผิดวิธีเป็นระยะเวลานานๆ สะสมอาการเจ็บหลังหรือเมื่อยล้าไปเรื่อยๆ ก็จะส่งผลให้เมื่ออายุมากขึ้นหรือถึงเวลาอันสมควร เสี่ยงเป็นโรคกระดูกสันหลังปลิ้นได้

ท่านั่งทำงานที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งโน้มตัวไปข้างหน้า หลังค่อมคอยื่น หรือนั่งในท่าที่ไม่มีการรองรับส่วนกระดูกสันหลัง จะทำให้แรงกดที่เกิดขึ้นบนกระดูกสันหลังสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้ดิสก์ระหว่างกระดูกสันหลังเคลื่อนออกจากตำแหน่งหรือปลิ้นได้
สังเกตอาการของโรคกระดูกสันหลังปลิ้น (Herniated Disc)
ปวดหลัง
ปวดคอ
ปวดร้าวไปที่แขนหรือขา
อาการชาแขน ขา หรือแม้แต่บริเวณรอบ ๆ สะโพกหรือเท้า
กล้ามเนื้อแขนหรือขาอ่อนแรงได้
อาการเสียวหรือรู้สึก "ไฟช็อต"ตามแขนหรือขา
ทำไมโรคนี้ถึงสะสมเป็นระยะเวลานาน
โรคกระดูกสันหลังปลิ้น (Herniated Disc) อาจสะสมและเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานเพราะหลายปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาและอาการของโรคนี้ค่อย ๆ รุนแรงขึ้นตามเวลา สาเหตุที่ทำให้โรคนี้มักไม่เกิดขึ้นทันทีและสามารถสะสมได้ในระยะยาว
สะสมจากท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานานตั้งแต่วัยรุ่น-วัยทำงาน
การนั่งทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ในท่าก้มคอ, นั่งในท่าผิด จะทำให้กระดูกสันหลังได้รับแรงกดจากท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง การทำกิจกรรมซ้ำ ๆ อย่างเช่น
ยกของหนักทุกวัน เช่น พนักงานขนส่ง หรือ ช่างภาพ ที่ต้องยกกล้องท่าเดิมนานๆ หรือทีมงานจัดงานอีเวนท์ต่างๆ ที่ต้องใช้ร่างกายในการขนย้ายของหนักๆ
การนั่งเป็นเวลานาน ๆ ประชุมบ่อยๆ โดยไม่เปลี่ยนท่าทาง หรือไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้ ก็จะทำให้หมอนรองกระดูกค่อย ๆ เสื่อมสภาพและปลิ้นออกจากตำแหน่งได้
ท่านั่งทำงานที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกสันหลังปลิ้น
ท่านั่งทำงานที่ไม่ถูกต้อง จะส่งผลเสียต่อกระดูกสันหลังในอนาคตได้ โดยเฉพาะหากนั่งในท่าทางที่ผิดนานๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง, ปวดคอ, หรือแม้แต่ปัญหากระดูกสันหลังปลิ้น (Herniated Disc)
งดนั่งก้มหน้า
การนั่งโดยที่คอและหลังโน้มไปข้างหน้า ขณะใช้คอมพิวเตอร์ หรือพิมพ์งานจะทำให้เกิดแรงกดที่กระดูกสันหลังส่วนบน (คอ) และอาจทำให้เกิดอาการปวดคอ, ปวดหลัง, หรือปวดไหล่
งดนั่งตัวงอหรือนั่งบิด(นั่งชันเข่า)
การนั่งตัวงอหรือบิดไปข้างหนึ่ง โดยไม่มีการรองรับหลังให้ตรง จะทำให้เกิดแรงกดไม่สมดุลที่กระดูกสันหลัง อาจทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูก และอาการปวดหลังเรื้อรัง
งดนั่งโดยไม่มีที่พิงหลังเสริมการรองรับกระดูกสันหลัง
หากไม่พิงพนักเก้าอี้หรือพนักพิงหลังจะทำให้กระดูกสันหลังต้องรับน้ำหนักจากท่านั่งทั้งตัว ทำให้กล้ามเนื้อหลังตึงเครียดและอาจเกิดอาการปวดหลังได้
งดนั่งขาไขว่ห้างหรือนั่งขัดสมาธิ
การนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานานๆ จะทำให้กระดูกสันหลังไม่อยู่ในแนวตรง ส่งผลให้เกิดแรงกดผิดจุดที่กระดูกสันหลังและอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย หรือหากนั่งนานๆอาจเป็นโรคกระดูกสันหลังคดได้ การนั่งไขว่ห้างหรือนั่งเอียง ถ่ายเทน้ำหนักข้างใดข้างนึง จะทำให้เกิดการบิดของกระดูกสันหลังในท่าที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดการปวดหลังหรืออาการกล้ามเนื้อล้า
งดนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ต่ำกว่าระดับสายตามากเกินไป
หากหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่ำกว่าระดับสายตา จะทำให้ต้องก้มคอไปข้างหน้าเป็นเวลานานๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อคอและหลัง เสี่ยงโรค 'Text Neck Syndrome'
ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง ห่างไกลโรคในอนาคต
การนั่งทำงานที่ถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้ พยายามอย่านั่งกับหน้าจอนานๆ ควรลุกขึ้น ขยับร่างกายไม่ให้กดทับนานๆ
นั่งหลังตรงและพิงพนักเก้าอี้
ควรนั่งหลังตรงและพิงพนักเก้าอี้เพื่อรองรับกระดูกสันหลังให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง
ขาตั้งอยู่ในมุม 90 องศา
ขาควรตั้งอยู่ในมุม 90 องศา โดยให้เท้าแบนราบกับพื้นและเข่าอยู่ระดับเดียวกับสะโพก
ปรับความสูงของเก้าอี้และหน้าจอ
เก้าอี้ควรปรับความสูงให้ขาและเข่าอยู่ในท่ามุม 90 องศา และหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ในระดับสายตา เพื่อลดการก้มคอ
มืออยู่ในระดับที่พอดีกับโต๊ะ
ข้อมือควรตั้งอยู่ในมุม 90 องศาขณะพิมพ์คีย์บอร์ด หรือใช้เมาส์
บางคนอาจมีอาการปวดหลังหรือปวดคอที่เบา ๆ หรือไม่รุนแรงในช่วงแรก และอาจมองข้ามหรือไม่ให้ความสำคัญกับอาการเหล่านั้น หากไม่ป้องกันรักษาหรือไม่ปรับพฤติกรรมท่านั่ง การยกของหนัก อาการเหล่านี้จะสะสมและอาจกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงขึ้นในระยะยาว ในปัจจุบันมีอุปกรณ์เสริมในการช่วยซัพพอร์ตการทำงานได้ เช่น ที่วางโน๊ตบุ๊ค เสริมให้หน้าจอทำงานอยู่ในระดับสายตา หรือเก้าอี้เพื่อสุขภาพ ที่ช่วยให้ท่านั่งการทำงาน อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และมีส่วนเสริมช่วยซัพพอร์ตกระดูกสันหลังอีกด้วย
Leanova เราสนับสนุนให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงเวลาและได้ใช้ชีวิตในสิ่งที่คุณต้องการ
Comments