top of page
Logow.png
  • Facebook
  • Instagram
  • TikTok
Search

สำรวจตัวเอง พฤติกรรมเสี่ยงเป็น"โรคออฟฟิศซินโดรม"

บทความเรานี้ เราจะพาทุกคนมาสำรวจตัวเองเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงที่จะเป็น "โรคออฟฟิศซินโดรม" เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการนั่งทำงานในท่าทางหรือท่ายืนที่ผิดท่าในระยะยาว ซึ่งหากเคยชินทำท่าที่ผิดวิธีเป็นระยะเวลานานๆ ในระหว่างทำงาน หรือท่าเล่นโทรศัพท์ผิดท่า ที่อาจนำไปสู่การเกิดอาการปวดเมื่อยต่างๆ เช่น ปวดคอ ไหล่ หลัง หรือข้อมือ และอาจเป็นโรคอื่นๆตามมาได้ เช่น หมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท, กระดูกคอเสื่อม , Text Neck Syndrome , นิ้วล็อค , กระดูกสันหลังคด



เช็คอาการ โรคออฟฟิศซินโดรม

ปวดคอบ่าไหล่ รู้สึกตึงหรือปวดที่บริเวณคอ บ่า หรือไหล่ โดยเฉพาะตอนตื่นนอนในตอนเช้าหรือหลังจากนั่งทำงานเป็นเวลานาน ปวดตึงที่ต้นคอ ซึ่งอาจร้าวไปถึงหลังหรือลงไปที่แขน

ปวดหลังส่วนล่าง อาการปวดหลังส่วนล่างมักเกิดจากการนั่งผิดท่าหรือไม่มีการเปลี่ยนท่าทางการนั่งเป็นเวลานานๆ อาจมีอาการปวดในช่วงหลังทำงานหรืออาการปวดหลังตอนตื่นนอน

ปวดข้อมือ ข้อศอก หรือข้อมือ การใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ในท่าที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดอาการปวดหรืออักเสบที่ข้อมือ ข้อศอก หรือมือ อาการเหล่านี้มักเกิดจากการเคลื่อนไหวที่ซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน เช่น การพิมพ์หรือคลิกเมาส์

ตึงที่กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อไหล่ หรือกล้ามเนื้อคออาจเกิดการตึงเครียด เนื่องจากการนั่งทำงานผิดท่า อาจเกิดอาการเมื่อยล้าจากท่ายกของที่ผิด

ปวดหัว การนั่งทำงานในท่าทางที่ผิดปกติ หรือการใช้สายตาจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว โดยเฉพาะในช่วงหน้าผากหรือท้ายทอย อาการปวดศีรษะมักเกิดจากการตึงเครียดในกล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่

ตาพร่ามัว หรือแสบตา การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานอาจทำให้ตาแห้งและล้าจากการจ้องมองหน้าจอ อาจมีอาการตาพร่ามัวหรือรู้สึกแสบตา


มือชาและขาชา การนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสมหรือการขยับร่างกายน้อยเกินไป อาจทำให้เกิดอาการชาในมือหรือขา ซึ่งเกิดจากการกดทับเส้นประสาท การนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งขัดสมาธิ นั่งไขว่ห้าง นั่งหลังงอเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทที่มือ ข้อมือ หรือขา ทำให้เกิดอาการชา การรู้สึกผิดปกติ หรือเจ็บปวดได้

ออฟฟิศซินโดรมเกิดจากอะไร ?

  1. พฤติกรรมการนั่งและการใช้คอมพิวเตอร์ การนั่งหลังค่อม นั่งไขว่ห้าง หรือนั่งเกร็งเป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนท่าทางหรือขยับร่างกายเป็นประจำ จะส่งผลให้เป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้

  2. ขาดการยืดกล้ามเนื้อ นั่งนานๆจากการทำงานต่อเนื่อง โดยไม่มีการยืน เดิน หรือยืดกล้ามเนื้อในระหว่างการทำงาน

  3. ท่านั่งผิดวิธี เช่น การนั่งในเก้าอี้ที่ไม่มีการรองรับกระดูกสันหลังหรือไม่ปรับความสูงของโต๊ะทำงานให้เหมาะสม


อายุและอาชีพที่เสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

  • วัยทำงาน กลุ่มอายุนี้มักเป็นผู้ที่ทำงานในออฟฟิศและใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมมากที่สุด เนื่องจากการนั่งทำงานนานๆ และท่าทางที่ผิดจะทำให้เกิดความเครียดในกล้ามเนื้อและข้อต่อ

  • วัยกลางคน เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน การยืดหยุ่นของข้อต่อและกล้ามเนื้อจะลดลง ทำให้มีโอกาสเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมมากขึ้น เนื่องจากการใช้กล้ามเนื้อในลักษณะเดิมๆ และไม่สามารถปรับตัวได้ดีเท่ากับวัยหนุ่มสาว

อาชีพที่ต้องนั่งทำงานหรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

ผู้ที่ทำงานในออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ, นักพัฒนาโปรแกรม, นักออกแบบกราฟิก หรือพนักงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์และมือถือในระยะเวลานาน พนักงานที่ต้องใช้มือในการทำงานอย่างต่อเนื่อง เช่น พนักงานที่ทำงานในสายการผลิต หรือพนักงานที่ใช้มือทำงานซ้ำๆ เช่น การแพ็คสินค้า การกดปุ่ม หรือการใช้เครื่องมือบางประเภท รวมถึงพนักงานขายหรือพนักงานบริการลูกค้า ที่ต้องยืนนานๆ ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม


การปรับท่านั่งและการจัดตำแหน่งอุปกรณ์ทำงานให้ถูกต้องเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม การรักษาท่าทางที่ดีรวมถึงการหยุดพักและยืดกล้ามเนื้อเป็นระยะๆ จะช่วยให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่เสี่ยงต่อการเจ็บปวดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ หรือแม้กระทั่งก้มหน้าเล่นโทรศัพท์เป็นเวลาๆอาจจะส่งผลให้เป็นโรคกระดูกคอเสื่อม




 
 
 

Comments


© 2024 Leanova Thailand

bottom of page