ในยุคสมัยนี้การใช้โทรศัพท์ถือว่าเป็นส่วนนึงในชีวิต แต่รู้ไหมว่าท่านั่งเล่นโทรศัพท์ที่ไม่ถูกต้อง เช่น การก้มคอมากเกินไป หรือการก้มหน้าต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายโดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า และไหล่ ซึ่งอาจนำไปสู่โรค Text Neck Syndrome ทำให้ปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรังได้

โรค Text Neck Syndrome คือ ?
Text Neck Syndrome เป็นอาการที่เกิดจากการก้มหน้ามองหน้าจอโทรศัพท์ เช่น โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต ในท่าที่ผิด ก้มหน้าเล่นโทรศัพท์มากเกินไป ส่งผลให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่ รวมถึงแรงกดที่กระดูกสันหลังส่วนคอมากขึ้น การก้มหน้าเล่นโทรศัพท์นานๆฝืนธรรมชาติของร่างกาย ทำให้คอและบ่าจะต้องรับน้ำหนักมากขึ้น
การก้มหัวเพื่อดูโทรศัพท์มือถือในมุมที่ต่างกัน ทำให้คอต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกของคอ โดยน้ำหนักที่คอต้องรองรับจะเพิ่มขึ้นตามมุมที่ก้มหัว
ศีรษะตรง (0 องศา) คอต้องรับน้ำหนักศีรษะประมาณ 4.5-5.5 กิโลกรัม (น้ำหนักศีรษะโดยเฉลี่ยของคนทั่วไป)
ก้มศีรษะ 15 องศา คอต้องรับน้ำหนักเพิ่มเป็นประมาณ 12 กิโลกรัม
ก้มศีรษะ 30 องศา น้ำหนักที่กดลงบนคอเพิ่มเป็น 18 กิโลกรัม
ก้มศีรษะ 45 องศา น้ำหนักที่คอต้องรับเพิ่มเป็น 22 กิโลกรัม
ก้มศีรษะ 60 องศา น้ำหนักที่กดลงบนคอสูงถึง 27 กิโลกรัม
ทำไมก้มหัว คอถึงรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น?
เมื่อศีรษะก้มต่ำลง กล้ามเนื้อบริเวณคอต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อต้านแรงโน้มถ่วง และต้องพยุงน้ำหนักหัวที่เพิ่มจากการเปลี่ยนมุม ส่งผลให้กล้ามเนื้อและข้อต่อบริเวณคอเกิดความเครียดสะสม
อาการแบบไหนที่เรียกว่าเป็น Text Neck Syndrome
ปวดคอและบ่า โดยเฉพาะในขณะที่หรือหลังใช้โทรศัพท์นานๆ
ไหล่ห่อหรือหลังค่อมจากการสะสมทำท่าผิดนานๆ
ปวดศีรษะ ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อคอที่เกร็งตัวมากเกินไป
รู้สึกเมื่อยล้า หรือมีอาการชาที่แขนและนิ้ว
หากปล่อยปละละเลย อาการ Text Neck Syndrome อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงในอนาคตตอนอายุมากขึ้นได้ เช่น โรคกระดูกคอเสื่อมก่อนวัย , หมอนรองกระดูกคอเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท , กระดูกสันหลังคด เช่น ไหล่เอียง หรือหลังค่อมถาวร

ท่าไหน...ที่นั่งใช้โทรศัพท์แบบถูกวิธี ป้องกันเป็น Text Neck Syndrome
ปรับเปลี่ยนท่าทางการใช้โทรศัพท์
ถือโทรศัพท์ในระดับสายตา เพื่อลดการก้มคอ ลดมุมก้มศีรษะ
ไม่ควรใช้โทรศัพท์ในท่านอน โดยเฉพาะการนอนคว่ำ
หยุดพักเป็นระยะๆ
ใช้เทคนิค 20-20-20 คือ พักสายตาและเปลี่ยนท่าทุกๆ 20 นาที
ออกกำลังกายยืด-เหยียด
ทำท่ายืดคอและไหล่ เช่น ท่าเงยหน้า ท่ายืดกล้ามเนื้อคอด้านข้าง
เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ฝึกการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ หลัง และไหล่ เช่น การเล่นโยคะ
ใช้อุปกรณ์เสริม
ใช้อุปกรณ์เสริม เช่น ขาตั้งโทรศัพท์หรือแท่นวาง เสริมตำแหน่งในระดับสายตาให้พอดี
ใช้เก้าอี้เพื่อสุขภาพ จัดท่านั่งให้ถูกต้องเพื่อซัพพอร์ตท่านั่งให้ถูกต้อง
หันมาใส่ใจสุขภาพวันนี้ ป้องกัน Text Neck Syndrome ก่อนสายเกินไป!
ทุกครั้งที่คุณก้มหน้ามองโทรศัพท์เป็นเวลานาน คอกำลังรับน้ำหนักมากกว่าปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการปวดคอ บ่า ไหล่ และเสี่ยงต่อปัญหากระดูกสันหลังในระยะยาว Text Neck Syndrome เป็นภัยเงียบที่มาพร้อมการใช้ชีวิตยุคดิจิทัล แต่สามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
Leanova เราสนับสนุนให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงเวลาและได้ใช้ชีวิตในสิ่งที่คุณต้องการ
Comments